GPP คืออะไร การเปิดร้านยา ตกแต่งร้านขายยา ตามหลักของกฎหมายGPPใหม่

GPP คืออะไร หาคำตอบได้ที่นี่ค่ะ

ตามที่ทราบกันนะคะ สำหรับลูกค้าที่ต้องการ เปิดร้านขายยา คุณภาพ

ทุกท่านมักจะกังวลเกี่ยวกับปัญหาการออกแบบร้านที่เหมาะสม เพื่อให้ผ่านการตรวจของ สสจ. ของแต่ละจังหวัด

ทางร้านพีเอ็นบิ้วอินของเรา มีความพร้อมเป็นอย่างยิ่ง เพื่อให้ลูกค้ามั่นใจในการใช้บริการกับทางร้านเราค่ะ

การทำร้านขายยานั้น ไม่ได้มีแค่เรื่องดีไซน์ตกแต่งภายในสวยเพียงอย่างเดียว แต่ต้องคำนึงถึงความถูกต้องตามกฎข้อบังคับของ GPP ด้วย อีกทั้งฟังก์ชันในการใช้งานของเฟอร์นิเจอร์แต่ละชิ้น PN BUILD IN ยังใส่ใจไปถึงการใช้งานจริง ปรับรูปแบบเฟอร์นิเจอร์บิ้วอินให้ตอบโจทย์ลูกค้าเภสัชกรมากที่สุด

การตกแต่งร้านขายยาตามหลักของกฎหมาย GPP ใหม่

GPP ย่อมาจาก Good Pharmacy Practice คือ หลักวิธีปฏิบัติทางเภสัชกรรมชุมชน

หลักการใหญ่ ๆ ที่ลูกค้าจะต้องเตรียมสำหรับพื้นที่ สถานที่ในการจัดร้านขายยาในปัจจุบัน คือ

1.พื้นที่ร้าน ควรมีขนาดตั้งแต่4x6เมตรค่ะ เพื่อจะทำให้สามารถใช้พื้นที่ได้อย่างเหมาะสมค่ะ

เพราะตามหลักของGPP จะมีข้อบังคับให้ร้านขายยาทำพื้นที่สำหรับให้บริการ และสำหรับปรึกษาอย่างน้อย 8 ตารางเมตรค่ะ

"พื้นที่ให้บริการโดยเภสัชกร" (Pharmacist-service area) และ "พื้นที่สำหรับให้คำปรึกษาด้านยา" (Counseling area)

ขนาดของพื้นที่รวมกันต้องไม่น้อยกว่า 8 ตารางเมตร โดยด้านที่สั้นที่สุดของพื้นที่ต้องไม่น้อยกว่า 2 เมตร 

2.ต้องมีการแบ่งประเภทยา มีป้ายกลุ่มยา ตามหมวดหมู่เพื่อการจัดเก็บที่เป็นระเบียบเรียบร้อย สวยงาม

3.จัดให้มีป้ายเพื่อแสดงว่าผู้ปฏิบัติงานไม่อยู่ เป็นม่านม้วนเภสัชกรที่สามารถดึงขึ้นลงได้ค่ะ

4.จัดให้มีป้ายแสดงวิทยฐานะของเภสัชกรและเวลาปฏิบัติการ ป้ายน้ำเงิน ป้ายเภสัชกร และ ป้ายสถานที่ขายยาแผนปัจจุบัน

- ป้ายน้ำเงินต้องมีขนาดกว้างไม่ต่ำกว่า 70 เซนติเมตร สูงไม่ต่ำกว่า 20 เซนติเมตร ตัวอักษรสีขาว ขนาดไม่ต่ำกว่า 3 เซนติเมตร

 

- ระบุชื่อ นาย/นางสาว/นาง และนามสกุล ตามด้วย ภ.บ.

 

- เวลาปฏิบัติการ xx.xx - xx.xx น.

 

- ภาพถ่าย หน้าตรงเภสัชกร โดยรูปถ่ายของผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการให้เป็นรูปสี หน้าเต็ม หน้าตรง ไม่สวมหมวก ไม่ใส่แว่นตาดำ ซึ่งถ่ายไว้ไม่เกิน 5 ปี รูปถ่ายขนาด 4 x 6 นิ้ว (10 x 15 เซนติเมตร)

 

- เลขใบประกอบวิชาชีพ ภ. xxxx

 

5.จัดให้มีส่วนพื้นที่ให้คำแนะนำแก่ผู้มาใช้บริการ 

6.จัดให้มีป้ายแพ้ยาแจ้งกับผู้ใช้บริการ เรื่องแพ้ยา ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร หรือมีโรคประจำตัวต้องแจ้งให้เภสัชกรทราบทุกครั้ง

7.บริเวณสำหรับ “พื้นที่สำหรับให้คำปรึกษาแนะนำด้านยา” (Counseling area) ควรจัดเป็นโต๊ะ และเก้าอี้ อย่างน้อย 2 ตัว ที่สะดวกต่อการนั่งพูดคุยและคำนึงถึงผู้สูงอายุที่จะสามารถนั่งได้ง่าย

พร้อมมีป้ายภาษาไทยแสดง โต๊ะให้คำปรึกษา มีพื้นที่บนโต๊ะที่เพียงพอสำหรับจัดวางสิ่งสนับสนุนต่าง ๆ ในขณะที่ให้คำปรึกษาแนะนำด้านยา

เพื่อให้ร้านยาของเราน่าใช้บริการมากยิ่งขึ้น ควรมีการจัดแสงสว่างให้เพียงพอด้วยนะคะ ร้านก็จะน่าเข้า ยอดขายก็จะเพิ่มขึ้นด้วยค่ะ 

สำหรับ GPP ร้านยาภาคใต้ จังหวัดภูเก็ต กระบี่ พังงา ตู้ยาต้องมีประตูปิดและล็อกได้นะคะ

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ GPP ที่นี่ค่ะ : https://www.kanpho.go.th/


 

        

ตกแต่งร้านยา ที่ไหนดี ? ออกแบบร้านยา กับเจ้าไหนดี ?

ถ้าคุณกำลังหาบริษัทรับตกแต่งร้านยาระดับคุณภาพ เน้นการให้บริการประทับใจ ราคาไม่แพง นึกถึง PN BUILD IN ได้เลยค่ะ

✧ ตกแต่งร้านยา กับ PN Build in ✧
• ราคาเริ่มต้นเพียงตรม.ละ2,000บาท
• รับประกันงาน 1 ปี
• สอบถาม/จองคิวงาน
Tel: 097-0726430
Line ID: 0917205150

Visitors: 218,853